วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงงาน is การปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก

บทที่1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ถั่วงอกสามารถนำมาประกอบอาหารที่มีคุณค่า และถูกหลักตามโภชนาการได้หลากหลายอย่าง เช่น ผัดผัก ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ถั่วงอกทั่วไปตามท้องตลาด มีการชุบหรือราดน้ำยาสารเคมีต่างๆ ซึ่งมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย การชุบสารเคมีจะทำให้ถั่วงอก มีความกรอบ สดใหม่ น่ารับประทาน และยังเสียยาก แต่ว่ามีผลข้างเคียงต่อร่างกาย ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ จะนำมาซึ่งโรคมะเรงในร่างกาย
          การปลูกถั่วงอกรับประทานด้วยตัวเองนั้น เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี แต่บางคนอาจไม่มีเนื้อที่ในการปลูก การปลูกถั่วงอกทานเองนั้น จะช่วยลดสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย และจะทำให้ปลอดภัยจากสารเคมี ด้วยวิธีง่ายๆภายในบ้านคือ การปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก การปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติกจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทั้งร่างกายไร้สารเคมี และถั่วที่จะเอามาทำถั่วงอก ก็จะทำการนำถั่วชนิดอื่นๆมาทดลองปลูก เพื่อทำให้ถั่วงอกมีคุณค่า และประโยชน์ต่อสุขภาพให้มากที่สุด
          จากเหตุผลและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษา วิธีการปลูกถั่วงอกง่ายๆภายในบ้าน และปลอดสารเคมี เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถปลูกถั่วงอกทานเองได้ภายในบ้าน ด้วยวิธีง่ายๆ และยังปลอดสารพิษ สารเคมี หรือผลข้างเคียงที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้สุขภาพดียิ่งขึ้น และทำให้ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อปลูกถั่วงอกอย่างมีความสุข
 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
          1.เพื่อศึกษาวิธีการปลูกถั่วงอกในขวด
          2.เพื่อศึกษาอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปลูกถั่วงอก
          3.เพื่อศึกษาสารอาหารที่มีในถั่วงอก
          4.เพื่อศึกษาประโยชน์ของถั่วงอกที่ปลอดสารเคมี
          5.เพื่อศึกษาโทษของถั่วงอกที่ปนเปื้อนสารเคมี
ขอบเขตการศึกษา
          ตัวแปรต้น : การปลูกถั่วงอกในขวด
          ตัวแปรตาม : การเจริญเติบโตของถั่วงอกภายในขวด
          กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ
สมมติฐาน
          เนื่องจากปัจจุบันมีการบริโภคถั่วงอกเป็นจำนวนมาก และไม่คำนึงถึงโทษและสารเคมีในถั่วงอก จึงมีวิธีการปลูกถั่วงอกในขวดน้ำพลาสติก ซึ่งจะทำให้ถั่วงอกปลอดภัยจากสารเคมี และก็สามารถนำมาบริโภค หรือประกอบอาหารได้อีกด้วย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
          1.สร้างเสริมการคิดที่หลากหลาย
          2.ส่งเสริมการกินผักปลอดสารเคมี
          3.เรียนรู้วัฎจักรชีวิตของพืช
          4.เรียนรู้ประโยชน์ของถั่วงอก
          5.ได้รู้วิธีการปลูกถั่วงอกภายในขวด 


        บทที่2
         การศึกษาการปลูกถั่วงอกในขวดปลอดสารพิษในครั่งนี้ไดค้นคว้าจากเอกสารในหัวข้อดังต่อไปนี้ 
                   1.ลักษณะทั่วไปของถั่วงอก
                   2.สรรพคุณทางยาของถั่วงอก
                   3.วิธีการปลูกถั่วงอกโดยทั่วไป
                   4.วิธีการปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก
                   5.ประโยชน์ของถั่วงอก
1.ลักษณะทั่วไปของถั่วงอก
           ถั่วงอก คือต้นอ่อนระยะเริ่มงอกของเมล็ด แต่คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมล็ดของถั่วเขียวงอก คนไทยคุ้นเคยกับถั่วงอกจากถั่วเขียวมาช้านาน เมื่อกระแสเรื่องสุขภาพกำลังเป็นที่สนใจ ทำให้มีการนำเมล็ดพืชหลายชนิดมาเพาะเป็นต้นอ่อน ทำให้ในปัจจุบันถั่วงอกและเมล็ดงอกที่เพาะขายเป็นการค้ามีหลายชนิด เช่นถั่วงอเพาะจากถั่วเขียวเมล็ดเขียวและเมล็ดดำ ใช้เวลาเพาะประมาณ 3 วัน มีรสกรอบ มีวิตามิน และเกลือแร่สูงถั่วงอกหัวโต หรือ ถั่วเหลืองงอก ใช้เวลาเพาะนานวันกว่าถั่วงอก มีกลิ่นถั่วและเนื้อกระด้างกว่าถั่วงอก หัวแข็งแต่มัน มีโปรตีนและไขมันสูงโต้วเหมี่ยว เพาะจากเมล็ดถั่วลันเตา หวานกรอบ รสเหมือนถั่วลันเตา ใช้เวลาเพาะประมาณ 10 วันก็ได้ต้นอ่อนที่เก็บกินได้ มีวิตามินบี และวิตามินซีสูง เพาะจากเมล็ดหัวไชเท้า รสกรอบ หวานซ่า เล็กน้อย มีวิตามินเอ วิตามินซี และโปแตสเซียมสูง อัลฟาลฟา (Alfalfa) เพาะจากถั่วลันเตาชนิดหนึ่ง นิยมใช้เป็นผักสลัด มีโปรตีนและวิตามินบีสูงถั่วแดงงอก เพาะจากถั่วแดง หรือ adzuki beans เพาะง่ายเหมือนถั่วเขียวงอก มีหัวโต ช่วยให้กรอบมัน ถั่วลิสงงอก กรอบอร่อย มีรสมัน ถั่วลิสงเพาะยากกว่าถั่วอื่น ๆ เพราะขึ้นราได้ง่าย ดังนั้นถึงแม้จะอร่อยมาก แต่กลับมีคนเพาะขายกันน้อย พบมากในภาคใต้ถั่วดำงอก กรอบ มัน รสดี ไม่มีกลิ่นถั่วงางอก เพาะจากเมล็ดงาได้ไม่ยาก รสกรอบ และขมเล็กน้อย มีโปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุสูงเมล็ดทานตะวันงอก เมล็ดเพาะได้ง่ายโดยแกะเปลือกออกก่อน มีกรดไขมันดีในปริมาณสูงปัจจุบันในต่างประเทศยังนิยมนำเมล็ดธัญพืชหลายชนิดมาทำเมล็ดงอก เช่น ข้าวสาลีงอกข้าวโอ๊ตงอก ข้าวบาร์เลย์งอก ข้าวไรย์งอก ข้าวโพดงอก ฯลฯ ทำให้ได้เมล็ดงอกที่หลากหลายมากขึ้นถั่วงอกและเมล็ดงอกอุดมไปด้วยโปรตีนและวิตามิน คนเอเชียรับประทานถั่วงอกทั้งดิบและสุก จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารไปแล้ว มีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่า คนจีนเป็นชนชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะถั่วงอกกินเป็นอาหารมาไม่น้อยกว่า 4,000 ปีแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นจะใช้เมล็ดถั่วเหลืองในการเพาะ ทำให้ถั่วงอกที่ได้มีลักษณะหัวโต จึงนิยมเรียกกันว่า ถั่วงอกหัวโตคนจีนโบราณใช้ถั่วเหลืองงอกเป็นแหล่งวิตามินซีในฤดูหนาวที่ผักและผลไม้หายาก แม้แต่กะลาสีเรือก็กินถั่วงอกเพื่อช่วยป้องกันรักษาโรคลักปิดลักเปิดส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย นอกจากนั้น ในถั่วงอกยังมีวิตามิน บี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเซลล์ มีธาตุเหล็กและซิตินช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ถั่วงอกเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีเส้นใยสูง เนื่องจากในกระบวนการงอกของเมล็ดถั่วโปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตหรือกลูโคส และไขมันกลายเป็นกรดไขมัน ทำให้ร่างกายสามารถย่อยเพื่อนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย จึงช่วยเรื่องระบบการย่อยอาหาร ไม่ต้องทำงานหนักเหมือนกับการกินเนื้อสัตว์ช่วยให้การขับถ่ายดี 

    2.สรรพคุณทางยา 
 ได้แก่ ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิด ช่วยในการขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง ซึ่งการรับประทานถั่วงอกก่อนมีประจำเดือนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิด ปกติของประจำเดือนได้ ช่วยลดและกำจัดของเสียหรือสิ่งตกค้างในร่างกายได้เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักเป็นพิเศษ เนื่องจากถั่วงอกมีน้ำตาลน้อยมาก
 คุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอก ต่อ 100 กรัม
          พลังงาน 30 กิโลแคลอรี่
          คาร์โบไฮเดรต 5.94 กรัม
          น้ำ 90.4 กรัม
          น้ำตาล 4.13 กรัม
          เส้นใย 1.8 กรัม
          ไขมัน 0.18 กรัม
          โปรตีน 3.04 กรัม
          วิตามินบี1 0.084 มิลลิกรัม 7%
          วิตามินบี2 0.124 มิลลิกรัม 10%
          วิตามินบี3 0.749 มิลลิกรัม 5%
         วิตามินบี6 0.088 มิลลิกรัม 7%
          วิตามินบี9 61 ไมโครกรัม 15%
          วิตามินซี 13.2 มิลลิกรัม 16%
          วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม 1%
          วิตามินเค 33 ไมโครกรัม 31%
          ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
          ธาตุเหล็ก 0.91 มิลลิกรัม 7%
          ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
          ธาตุแมงกานีส 0.188 มิลลิกรัม 9%
          ธาตุฟอสฟอรัส 54 มิลลิกรัม 8%
          ธาตุโพแทสเซียม 149 มิลลิกรัม 3%
          ธาตุสังกะสี 0.41 มิลลิกรัม 4%

3.วิธีการปลูกถั่วงอกโดยทั่วไป
วิธีการเพาะถั่วงอก
          1.ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 1 ถ้วยตวง แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดถั่ว- เขียวให้สะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ และเมล็ดที่พองตัวออกเพราะจะ เป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายและเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็น สาเหตุให้ถั่วงอกเน่าเสียหายได้ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก 8-10 ชั่วโมง หรือ 1 คืน
           2. วันรุ่งขึ้นล้างเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว นำขึ้นมาผึ่งในตะแกรงสักครู่เมล็ด จะพองตัวขึ้นได้ประมาณ 2 ถ้วยตวง จากเมล็ดถั่วเขียวแห้ง 1 ถ้วยตวง ถ้า เพาะในขวดน้ำมันพืชใช้เมล็ดที่แช่น้ำแล้วประมาณ 1 ถ้วยตวงต่อขวด สามารถเพาะได้ประมาณ 2 ขวด ใส่เมล็ดในภาชนะเพาะปิดทับเมล็ดด้วยผ้า ขนหนู รดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง
           3. ปิดคลุมภาชนะเพาะอีกครั้งด้วยถุงเพาะสีดำ เพื่อไม่ให้โดนแสง นำไปวางไว้ในร่มและเย็น
           4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 (ประมาณ 65-72 ชั่วโมง) นำมาล้างเอา เปลือกถั่วเขียวออกจะได้ถั่วงอกสำหรับบริโภค 1-2 มื้อ 5. ระยะเวลาในการเพาะถั่วงอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในช่วงเวลา ระหว่างการเพาะ 

 4.วิธีการปลูกถั่วงอกในขวดพลาสติก
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifขั้นตอนแรกนำขวดน้ำพลาสติกแบบสี่เหลี่ยมมาเจาะรูระบายน้ำ 2 แถว แถวละ 5 รู รวมทั้งหมด 10 รู
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifเริ่มเจาะรูในร่องของขวดตั้งแต่ข้อที่ 4-8 และเจาะระบายอากาศบริเวณคอขวดอีก 3 รู
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifและใช้มีดคัตเตอร์เปิดเป็นที่ใส่เมล็ดถั่วและรดน้ำในบริเวณขวดด้านฝั่งตรงข้ามกับที่เจาะรู (10 รู) การเจาะรูขวด
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifถ้ามีหัวแร้งจะเจาะรูได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้ธูปเจาะ แต่ถ้าไม่มีสามารถใช้ธูปแทนได้ โดยเวลาที่ใช้ธูปเจาะ
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifควรเป่าธูปให้ไฟติดเป็นสีแดง จะทำให้เจาะได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวแห้งใส่ลงในขวด แล้วตั้งขวดขึ้น
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifปริมาณของเมล็ดถั่วให้ใส่เท่ากับความสูงของรอยควั่นรอยแรก (หรือข้อแรกของก้นขวด) แล้วใส่น้ำสะอาดลงในขวด
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifใช้นิ้วมือกดปิดฝาที่เราทำไว้สำหรับรดน้ำ จากนั้นนอนขวดลงแล้วเขย่าขวดไปข้างหน้าและถอยหลังเพื่อเป็นการล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาด
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifทำการล้างทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง เตรียมน้ำอุ่น (โดยใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วน ก็จะได้น้ำอุ่นพอดี) เติมน้ำอุ่นลงไปให้สูงถึงข้อที่ 3 ของขวด
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifแล้วแช่เมล็ดถั่วเขียวทิ้งไว้ 6–8 ชม. เพื่อให้เมล็ดถั่วพองตัว กระตุ้นให้เมล็ดถั่วงอกดีและที่สำคัญเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifเมื่อแช่น้ำจนได้เวลา ให้เปลี่ยนใส่น้ำธรรมดาเพื่อทำความสะอาดเมล็ดอีก 1-2 ครั้ง โดยเขย่าล้างอย่างเบามือ
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifแล้วนอนขวดให้เมล็ดถั่วเขียวกระจายให้ทั่วขวด วางขวดในแนวนอน น้ำจะค่อย ๆ ไหลซึมผ่านรูที่เจาะไว้
Description: http://sator4u.com/library/img/funny/b3.gifจากนั้นนำตะแกรงเกล็ดปลามาม้วนหุ้มปิดทับขวด เพื่อช่วยพรางแสง ช่วยลดการปะทะของน้ำที่รดลงไป
*   และห่อทับอีกชั้นด้วยผ้าขนหนู หรือกระสอบ เพื่อไม่ให้แสงเข้า วันถัดมาให้รดน้ำด้วยฝักบัวหรือใช้ขันตักราด ให้น้ำค่อย ๆ ซึมผ่านรูที่เจาะไว้
ให้รดน้ำวันละ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น ผ่านไป 2 วัน 3 คืน จะได้ถั่วงอกขึ้นแน่นเต็มขวดนำถั่วงอกออกจากขวดทางช่องที่เจาะไว้โดยขวดขนาด 1,500 ซีซี จะได้ถั่วงอกประมาณ 6 ขีด หรือ 600 กรัม ส่วนขวดขนาด 750 ซีซี จะได้ถั่วงอกประมาณ 300 กรัม ส่วนขวดขนาด 600 ซีซี จะได้ถั่วงอกประมาณ 200 กรัม และขวดขนาด 5 ลิตร จะได้ถั่วงอกประมาณ 4–5 กิโลกรัม

5.ประโยชน์ของถั่วงอก
ถั่ว งอกเป็นผักที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับร่างกายมีส่วนช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม เปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล (วิตามินอี)การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงวิตามิน ซีจากถั่วงอกช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย และยังช่วยป้องกันหวัดได้อีกด้วยช่วยบำรุงประสาทและสมอง และช่วยในการทำงานของสมอง (เลซิทิน Lecithin)ช่วย บำรุงกระดูกและฟัน เนื่องจากถั่วงอกเป็นที่ผักที่มีแคลเซียมสูงมีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแนะของ มวลกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำจะช่วยใน การชะลอวัย ต้านความแก่ คงความอ่อนเยาว์ เนื่องจากมีสารออซินอน (Auxinon) ที่ มีคุณสมบัติช่วยทำให้ร่างกายคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวได้นานยิ่งขึ้นช่วยเพิ่ม การไหลเวียนของเลือกในร่างกายมีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งได้ (ต้องเป็นถั่วงอกปลอดสารนะ)การรับประทานถั่วงอกเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และการเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลันได้ เพราะไปช่วยลดระดับไขมัน (LDL)การรับประทานถั่วงอกจะช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
วิตามิน ซีจากถั่วงอกเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างมากในการสร้างฮอร์โมนระงับความเครียด ต่างๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทำงานถั่วงอก ประโยชน์ช่วยดับร้อนและปรับสมดุลของร่างกายได้เป็นอย่างดี
ช่วย ลดระดับเอาโตรเจนในร่างกาย เพราะฮอร์โมนของผู้หญิงมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเซลลูไลท์ ช่วยเก็บน้ำและช่วยเร่งการผลิตไขมัน ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงไม่ควรจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป
มี ส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมเซลล์ต่างๆในร่างกาย (วิตามินบี12)ถั่วงอก สรรพคุณทางยาช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน หรือโรคลักปิดลักเปิด



บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษา
ตารางปฏิบัติกิจกรรมการศึกษา
วัน/เดือน/ปี
กิจกรรม
สถานที่
ผู้รับผิดชอบ
4/09/2559
ทำบทที่ 1
บ้าน
กัลยา
8/09/2559
ทำบทที่ 1
บ้าน
สุธิดารัตน์
11/09/2559
ทำบทที่1
บ้าน
กุลภัฎ
14/09/2559
แก้ไขบทที่ 1
โรงเรียน
สุพัตรา
18/09/2559
เริ่มต้นทำบทที่ 2
บ้าน
จีรพัฒน
21/09/2559
ทำบทที่ 2
โรงเรียน
กัลยา
02/10/2559
รวมรวมเนื้อหา
บ้าน
กุลภัฎ
9/10/2559
จัดเตรียมอุปกรณ์
บ้าน
สุพัตรา
11/10/2559
ทดลองปลูก
บ้าน
สุธิดารัตน์
7/11/2559
ทำบทที่ 3
โรงเรียน
กัลยา



 วิธีการศึกษา
          สืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ
             ค้นหาข้อมูลต่างๆผ่านทางห้องสมุด
            ศึกษาผ่านทางผู้มีความรู้ในด้านการปลูกถั่วงอก
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
         1.เครื่องมือ
            กรรไกร
            มีด
            เทปใส
         2.วัสดุ
            ขวดน้ำ
            เมล็ดถั่วเขียว
            น้ำเปล่า
          3.อุปกรณ์
            กะละมัง
            ผ้ากรอง

บทที่ 4
        จากการที่ได้ศึกษาเรื่องการปลูกถั่วงอกปลอดสารพิษ หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาดังต่อไปนี้
สรุปความรู้ที่ได้รับ
         ความรู้ที่ได้รับจากการปลูกถั่วงอกปลอดสารพิษคือ ได้ศึกษาและรู้ถึงวิธีการปลูกถั่วงอกปลอดสารพิษ ซึ่งมีวิธีการปลูกดังต่อไปนี้
         นำถั่วเขียวที่อยู่ในถุงมาใส่ในขวด จะได้ปริมาณเท่ากับ 1 ข้อของขวดจากนั้น ให้ทำความสะอาดถั่วเขียวด้วยน้ำธรรมดาสัก 1 ครั้งหาแก้วกาแฟมาใส่น้ำร้อน (100 องศาเซลเซียส) 1 ส่วน นำมารวมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วน จะได้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาฯ ให้ใส่น้ำที่ผสมกันลงไปในขวด นับจากชั้นถั่วเขียวขึ้นไปอีก 2 ข้อ ดังรูป และแช่ถั่วเขียวในลักษณะขวดตั้งตรง ดังรูป เป็นระยะเวลาประมาณ 9 ชม.จากนั้นให้ทำความสะอาดด้วยน้ำธรรมดา 1 ครั้งสัก 10-15 วินาที นำตะแกรงไนล่อน มาโอบล้อมขวด ไว้เพื่อพรางแสงและไม่ให้เมล็ดถั่วเขียวหลุดออกมาจากขวด โดยให้ปลายตะแกรงไนล่อนด้านหนึ่ง เสียบเข้าไปในฝาด้านที่เราเปิดฝาขวดเอาไว้  จับให้ขวดนอนในถุงดำ ดังรูป และนำกะละมังมาวางรองถุงดำ เพราะอาจจะมีน้ำหยดออกมาจากถุงดำรวบปากถุงดำเบาๆ นำถุงดำที่รวบปาก ไปวางในตำแหน่งที่สะดวกต่อการรดน้ำในครั้งต่อไป ซึ่งผมสะดวกวางไว้บนอ่างล้างจาน แต่ยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สามารถวางได้นอกเหนือจากอ่างล้างจาน เช่น วางใต้อ่างล้างจาน หรือใต้อ่างล้างหน้าในห้องน้ำ หรือที่อื่นๆ แล้วแต่สะดวกต่อการรดน้ำ การรดน้ำถั่วเขียว จะรด 5 ครั้งต่อวัน 6โมงเช้า 8โมงเช้า  เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม (สูตรการรดน้ำถั่วงอก ==> 6 -8 - เที่ยง - 6 - 8)แต่เวลา 6 โมงเช้าแล้ว ท่านได้ทำความสะอาดถั่วเขียว ถือว่าได้รดมาแล้วครับ และเหลืออีก 4 ครั้งในวันนี้ วางแผนให้ดีในการรดน้ำนะครับ ขณะนี้เวลา 8 โมงเช้าได้เวลารดน้ำแล้ว ท่านสามารถรดน้ำขวดถั่วเขียวขณะอยู่ในถุงดำเลยก็ได้ การรดน้ำ ให้ใส่น้ำลงในช่องที่เปิดเอาไว้ ระดับที่ใส่ก็แค่ท่วมถั่วเขียวก็พอ น้ำที่ไหลออกจากถุงสามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ได้นะครับ อย่าให้ถั่วเขียวแช่น้ำ เดี๋ยวถั่วเขียวจะเน่า วันนี้ยังเหลือเวลารดน้ำอีก 3 ครั้ง คือ เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม  ขณะนี้เวลาประมาณ 3 ทุ่ม ขณะนี้ถั่วงอกจะมีอายุ 24 ชม. แล้ว สภาพถั่วก็เป็นดังรูป ในเวลานี้ถ้าต้องการนำถั่วงอกมารับประทานก็สามารถทานได้เลยนะครับ รสชาติจะอร่อยไปอีกแบบ ขณะนี้เวลา 6 โมงเช้า ท่านต้องรดน้ำในวันนี้อีก 5 ครั้ง คือ 6โมงเช้า 8โมงเช้า  เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม (สูตรการรดน้ำถั่วงอก ==> 6 -8 - เที่ยง - 6 - 8)เช้าของอีกวันหนึ่งแล้ว ขณะนี้เวลาประมาณ 7-8 โมงเช้า หรือเวลาได้ผ่านไปประมาณ 60 ชม.แล้ว สภาพของถั่วงอกก็เป็น ดังรูป พร้อมนำไปทำอาหารได้แล้ว เมื่อได้ถั่วงอกแล้ว การเอาออกจากขวด ขอให้ท่านคว่ำด้านที่มีฝาเปิดถั่วงอกลง แล้วค่อยๆ เอากำปั้นทุบเบาๆ พร้อมตบด้านข้างขวดสลับกันไป สักพักถั่วงอกก็จะไหลออกมาจากขวดเองส่วนขวดพลาสติกสามารถนำไปใช้เพาะถั่วงอกในครั้งต่อไปได้อีก โดยใช้ถั่วเขียวไปใส่ในขวดปริมาณ 1 ข้อของขวดพลาสติก กระบวนการเพาะถั่วงอกในขวดก็จะซ้ำตั้งแต่เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง

การแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
 1. การนำเสนอขาดความน่าสนใจในเรื่องราวความเป็นมาของผลิตภัณฑ์
  2. ราคาของผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ควรมีราคาระบุข้างบรรจุภัณฑ์
  3. ถั่วงอกบางต้นมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
  4. บรรจุภัณฑ์ขาดความสวยงามและความน่าสนใจ
 5. ควรเพิ่มปริมาณของผลิตภัณฑ์

     บทที่5
       สรุปผลการศึกษา
1.ได้รู้ประโยชน์ของถั่วงอกขวด
     1.1 มีส่วนช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวนุ่ม เปล่งปลั่งดูมีน้ำมีนวล
     1.2 จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
     1.3 ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย และยังช่วยป้องกันหวัด
     1.4 ช่วยบำรุงประสาทและสมอง และช่วยในการทำงานของสมอง
     1.5 ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เนื่องจากถั่วงอกเป็นที่ผักที่มีแคลเซียมสูง
     1.6 มีส่วนช่วยเพิ่มความหนาแนะของมวลกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
  2.ได้รู้สรรพคุณของถั่วงอกในขวด     
     2.1 ช่วยในการขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่ง
     2.2 จะช่วยประหยัดเวลาการทำงานของระบบการย่อยอาหารได้ และทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
     2.3 สรรพคุณช่วยในการขับปัสสาวะ
     2.4 ช่วยลดและกำจัดของเสียหรือสิ่งตกค้างในร่างกายได้
     2.5 ช่วยป้องกันการหลุดล่วงของเส้นผมได้เป็นอย่างดี
     2.6 การรับประทานถั่วงอกก่อนมีประจำเดือนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของประจำเดือน
  3.ได้รู้โทษของถั่วงอก
     3.1 ที่วางขายตามท้องตลาดส่วนมากแล้วจะมีสารปนเปื้อนอยู่มาก เนื่องจากพ่อค้าแม่ค้าต้องการให้ถั่วงอกดูสด ขาว กรอบและอวบ มีคุณสมบัติคงทนและเหี่ยวช้าเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางไกล ผู้บริโภคอย่างเราๆอาจจะได้รับสารปนเปื้อนเหล่านี้ไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น สารเร่งโตสารอ้วนสารคงความสด (ฟอร์มาลิน)สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟด์) ซึ่งล้วนแต่เป็นสารต้องห้ามและเป็นโทษต่อร่างกายทั้งสิ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งอย่างมาก และยังส่งผลเสียไปถึงระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบหายใจอีกด้วย ซึ่งอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้ ดังนั้นเรามาดูวิธีการเลือกซื้อถั่วงอกให้ปลอดสารพิษเหล่านี้จะดีกว่า โดยเราจะต้องดูว่ารากจะต้องไม่ยาว (ปลูกโดยใช้ผ้ารองพื้นไม่ใช้น้ำยาเคมี)ควรดูที่เปลือกนอกถั่วมีปะปนอยู่บ้างหรือไม่ (เพราะการแช่สารฟอกสีจะทำให้เปลือกหลุดหมด)หากไปเดินตลาดในเวลาบ่ายหรือค่ำหากยังพบว่ามีสภาพที่พองตัวและขาวอวบ ให้คิดไว้ก่อนว่ามีสารฟอกสีทางที่ดีที่สุดเมื่อซื้อมาแล้วก่อนจะนำไปบริโภคควรแช่น้ำทิ้งไว้สักประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือจะทำให้สุกก็ได้เช่นกัน จะปลอดภัยมากกว่าการรับประทานดิบๆ
  4.วิธีการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก
     4.1 นำถั่วเขียวที่อยู่ในถุงมาใส่ในขวด จะได้ปริมาณเท่ากับ 1 ข้อของขวดจากนั้น ให้ทำความสะอาดถั่วเขียวด้วยน้ำธรรมดาสัก 1 ครั้ง
     4.2 หาแก้วกาแฟมาใส่น้ำร้อน (100 องศาเซลเซียส) 1 ส่วน นำมารวมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วจะได้น้ำอุ่นที่อุณหภูมิประมาณ 40-45 องศาฯ ให้ใส่น้ำที่ผสมกันลงไปในขวด นับจากชั้นถั่วเขียวขึ้นไปอีก 2 ข้อ ดังรูป และแช่ถั่วเขียวในลักษณะขวดตั้งตรง ดังรูป เป็นระยะเวลาประมาณ 9 ชม.
     4.3 นำตะแกรงไนล่อน มาโอบล้อมขวด ไว้เพื่อพรางแสงและไม่ให้เมล็ดถั่วเขียวหลุดออกมาจากขวด โดยให้ปลายตะแกรงไนล่อนด้านหนึ่ง เสียบเข้าไปในฝาด้านที่เราเปิดฝาขวดเอาไว้
     4.4 จับให้ขวดนอนในถุงดำและนำกะละมังมาวางรองถุงดำ เพราะอาจจะมีน้ำหยดออกมาจากถุงดำ
     4.5 นำถุงดำที่รวบปาก ไปวางในตำแหน่งที่สะดวกต่อการรดน้ำในครั้งต่อไป ซึ่งผมสะดวกวางไว้บนอ่างล้างจาน แต่ยังมีสถานที่อื่นๆ ที่สามารถวางได้นอกเหนือจากอ่างล้างจาน เช่น วางใต้อ่างล้างจาน หรือใต้อ่างล้างหน้าในห้องน้ำ หรือที่อื่นๆ แล้วแต่สะดวกต่อการรดน้ำ
     4.6 การรดน้ำถั่วเขียว จะรด 5 ครั้งต่อวัน  คือ6โมงเช้า 8โมงเช้า  เที่ยงวัน 6โมงเย็น และ2ทุ่ม (สูตรการรดน้ำถั่วงอก ==> 6 -8 - เที่ยง - 6 - 8)แต่เวลา 6 โมงเช้าแล้ว
     4.7 เช้าของอีกวันหนึ่งแล้ว ขณะนี้เวลาประมาณ 7-8 โมงเช้า หรือเวลาได้ผ่านไปประมาณ 60 ชม.แล้ว สภาพของถั่วงอกก็เป็น ดังรูป พร้อมนำไปทำอาหารได้แล้ว 
     4.8 เมื่อได้ถั่วงอกแล้ว การเอาออกจากขวด ขอให้ท่านคว่ำด้านที่มีฝาเปิดถั่วงอกลง แล้วค่อยๆ เอากำปั้นทุบเบาๆ พร้อมตบด้านข้างขวดสลับกันไป สักพักถั่วงอกก็จะไหลออกมาจากขวดเอง
  5.ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
     5.1 ได้รู้ประโยชน์ของถั่วงอกขวด
     5.2 ได้รู้สรรพคุณของถั่วงอกในขวด     
     5.3 ได้รู้โทษของถั่วงอก
     5.4 วิธีการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก

3 ความคิดเห็น: